ประมวลการสอนรายวิชา
214 203 การซ่อมสร้างอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียน
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2543
ภาควิชาการมัธยมศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์

รายชื่อนักศึกษา

รายชื่ออาจารย์

1.รศ.วิมล สำราญวาณิช
2.ผศ.ประทัย ขาวขำ
3.อ.ทวี สระน้ำคำ
4.อ.เทวิน อินทรศิลา

1.  ลักษณะวิชา 
              วิชา 214 203
การซ่อมสร้างวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์
ในระดับโรงเรียนเป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาปริญญา
ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา วิชาเอกการสอนวิทยาศาสตร์ทุกสาขา
และการสอนคณิตศาสตร์  วิชานี้คิดค่าหน่วยการเรียนเท่ากับ
2 หน่วยกิต  จัดเป็นวิชาในหมวดวิชาการศึกษาที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
ก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือก่อนออกฝึกสอนวิชานี้เป็นวิชาว่า
ด้วยความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการซ่อมและการสร้างอุปกรณ์ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักรบางประเภทที่เป็นพื้นฐานสำหรับ
การซ่อมและสร้างอุปกรณ์ การประดิษฐ์อุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์  การนำวัสดุท้องถิ่นมาใช้ทดแทน  การดัดแปลงเศษวัสดุเหลือใช้
มาทำประโยชน์ในการเรียนการสอน วิธีทดสอบคุณภาพอุปกรณ์
ที่สร้างหรือซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว ตลอดจนวิธีการเก็บรักษา
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

2.  วัตุประสงค์     เพื่อให้ผู้เรียนวิชานี้
      2.1 มีความรู้พื้นฐานในการซ่อมสร้างและเก็บรักษาวัสดุ
อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ใช้ใน ระดับโรงเรียน
      2.2  สามารถซ่อมและสร้างวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในระดับ
โรงเรียนอย่างง่าย ๆ ได้
      2.3 สามารถนำวัสดุท้องถิ่นและเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็น
วัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ได้ 

3.  การจัดการเรียนการสอน
    
3.1  เวลาเรียน
             ผู้เรียนจะต้องเรียนในชั้นเรียนประมาณ 48 ชั่วโมง โดยจัดสอนสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง   ประกอบด้วยการบรรยาย 1 ชั่วโมง
และการฝึกปฏิบัติงานการซ่อมและสร้าง 1 ชั่วโมง เป็นเวลาประมาณ 16 สัปดาห์  การเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นการบรรยายและ
การฝึกปฏิบัติในความดูแลของอาจารย์ผู้สอน
     3.2  กิจกรรมการเรียน
         นอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียนแล้ว  นักศึกษาจะต้อง
ทำกิจกรรมเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน ดังนี้คือ
            3.2.1  ฝึกทักษะการปฏิบัติงานช่างต่าง ๆ ประมาณ
สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง
            3.2.2  ประดิษฐ์อุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนว
หลักสูตร สสวท. กลุ่มละ 1ชิ้น     (กลุ่มละ 2-3 คน) 
            3.2.3  ประดิษฐ์อุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์ตาม
ความคิดสร้างสรรค์
กลุ่มละ 1ชิ้น     (กลุ่มละ 3-4 คน) 

4.  การวัดผล
  
 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนเต็ม                   100  %
     4.1  เวลาเรียน+ความสนใจ+การร่วมกิจจกรรมการเรียน    5  %
     4.2  การสอบกลางภาค  (14  มกราคม  2544)                    20  %
     4.3  การสอบปลายภาค  (17  กุมภาพันธ์   2544)                20  %
     4.4  งานมอบหมายในชั่วโมงเรียนในแต่ละกิจกรรม          10  %
     4.5  โครงงานประดิษฐ์อุปกรณ์ตามแนวหลักสูตร สสวท.  20  % 
     4.6  โครงงานประดิษฐ์อุปกรณ์ตามความคิดสร้างสรรค์     25  % 

5.  อาจารย์ผูสอน
      5.1 รศ.วิมล  สำราญวานิช           ชีววิทยา  ภาควิชาการมัธยมศึกษา
      5.2 อ.ไพโรจน์  เติมเตชาติพงศ์  ชีววิทยา   ภาควิชาการมัธยมศึกษา
      5.3 ผศ.ประทัย  ขาวขำ                 เคมี    โรงเรียนสาธิตศึกษาศาสตร์
      5.4 อ.เทวิน  อินทรศิลา  อุตสาหกรรม   โรงเรียนสาธิตศึกษาศาสตร์
      5.5 อ.ทวี  สระน้ำคำ                  ฟิสิกส์    โรงเรียนสาธิตศึกษาศาสตร์

6.  วันและเวลาเรียน
      6.1  Sec I    Th 13.00-16.00  ED 1455 และ ED 1117 
      6.2  Sec II    F 13.00-16.00  ED 1455 และ ED 1117


Copyright @ Tawee Research Products. All rights Reserved.
Tawee Sranamkam B.Sc.(Physics) M.Ed.(Tec.Ed.:Computer)
Last Revised : Febuary 13, 2001.